ผศ.ประสาท มีแต้ม
ยุคที่ 2 (ปีที่จัดทำ : พ.ศ. 2527)
ประมาณปลายปี พ.ศ. 2526 ผศ.ประสาท มีแต้ม นายกสมาคมนักศึกษาเก่า ม.อ. ได้ดำริจะจัดทำเพลงมหาวิทยาลัยขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากในขณะนั้น เพลงประจำมหาวิทยาลัยมีแค่ 4 เพลง คือ เพลงเขตรั้วสีบลู สงขลานครินทร์ ถิ่นศรีตรัง และรำวงน้องก็อีกราย ซึ่งเป็นเพลงที่แต่ง และบรรเลงโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยการจัดทำครั้งนี้จะทำในรูปแบบของเทปคาสเซ็ท แต่การทำเทปคาสเซ็ท ซึ่งมีเพลงแค่ 4เพลง น้อยเกินไป จึงได้มีการนำเอาเพลงที่นักศึกษาแต่ง และร้องเล่นกันเองในหมู่นักศึกษา มารวมกับเพลงที่อาจารย์จากวิทยาเขตปัตตานี (ผศ. มะเนาะ ยูเด็น และอาจารย์ปราโมทย์ กระมุท) ได้แต่งเอาไว้
เพลงเหล่านี้ยังไม่เคยมีการบันทึกเสียงมาก่อน จากนั้นจึงนำเพลงดังกล่าวมาคัดเลือกให้ได้ 6 เพลง ซึ่งเมื่อรวมกับเพลงเก่าที่มีอยู่แล้วอีก 4 เพลง ก็จะเป็น 10 เพลง ซึ่งจะเป็นจำนวนที่เพียงพอในการบรรจุลงเทป 1 ตลับ

                          
                                ผศ. มะเนาะ ยูเด็น  
                                   
                                     อาจารย์ปราโมทย์ กระมุท
 
 
ในการจัดทำเพลงมหาวิทยาลัยครั้งนี้ ได้มอบหมายให้อาจารย์มนัส กันตวิรุฒ นายกสโมสรอาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในขณะนั้น เป็นผู้ประสานงานการจัดทำตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จ
อาจารย์มนัส ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดทำเพลงในครั้งนั้นว่า
“ผมได้นำเพลงทั้ง 6 เพลงที่คัดเลือกไว้ ไปให้คุณมนตรี สุปัญโญ ซึ่งเป็นบุคคลที่ผมมีความสนิทสนมคุ้นเคย ช่วยตรวจทาน แก้ไข และขัดเกลาเพลงต่างๆ เหล่านั้นให้ถูกต้องตรงตามฉันทลักษณ์ทางดนตรี และจัดทำโน้ตให้ โดยพี่หมูหรือคุณมนตรี ก็ได้ให้ความช่วยเหลือ โดยไม่ได้คิดค่าตอบแทนแต่ประการใด”

มนตรี สุปัญโญ
(พี่หมู)
มนตรี สุปัญโญ เป็นที่รู้จักกันดีในวงการดนตรีเมืองไทย     ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถเป็นเลิศทางด้านดนตรี และเล่นดนตรีได้หลายประเภท (คุณมนตรีเกิดในตระกูลศิลปิน เป็น       พี่ชายของคุณฉันทนา กิติยพันธ์ และคุณศรายุทธ สุปัญโญ ) ขณะนั้น คุณมนตรีเป็นหัวหน้าวงดนตรี “จามรี” เล่นประจำอยู่ที่ “อะลาดินไนท์คลับ” โรงแรมโฆษิต หาดใหญ่

นายแพทย์วีรชัย ศิริพานิชย์ (ซ้าย)
อ.มนัส กันตวิรุฒ (ขวา)
อีกไม่นานต่อจากนั้น ผมได้นำโน้ตเพลงทั้ง 6 เพลง เข้ากรุงเทพฯ โดยไปพบกับนายแพทย์วีรชัย ศิริพานิชย์ หมอนักแต่งเพลง เพื่อขอความช่วยเหลือในการในการจัดทำเทปเพลง ดังกล่าว หมอวีรชัย เป็นเพื่อนสนิทของผมสมัยที่เรียนอยู่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบัน คือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล )โดยหมอวีรชัยได้ให้ความช่วยเหลืออย่างดียิ่ง ตั้งแต่การวางแผนดำเนินงานและเพื่อให้เพียงพอต่องบประมาณที่มีอยู่ หมอวีรชัยได้ติดต่อนักร้องชั้นนำ ที่มีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นคือ คุณสุเทพ วงศ์คำแหง คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา คุณจิตติมา เจือใจ คุณรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส คุณกิ่งกาญจน์ กาญจนา และคุณวินัย พันธุรักษ์ เป็นผู้ขับร้องเพลงชุดนี้โดยไม่คิดค่าตอบแทน"




คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ขึ้น
         
                              



ลายมือ นพ.วีรชัย ศิริพานิชย์

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ขึ้น

“นอกจากนั้นแล้ว หมอวีรชัย ยังได้มอบหมายให้คุณกิ่งกาญจน์ กาญจนา (หรือคุณกัลยา ศิริพานิชย์) คู่ชีวิต ให้ช่วยทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวก ให้แก่นักร้องและนักดนตรี ตลอดระยะเวลาที่มีการบันทึกเสียง และยังได้ช่วยติดต่อ คุณพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ศิลปินครูเพลงนักเรียบเรียงเสียงประสานชื่อดัง รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานและเสาอากาศทองคำ เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน โดยขอให้คิดค่าทำเพลงในราคาที่ถูกเป็นพิเศษอีกด้วย”
เพลงทั้ง 6 เพลงนี้ได้ทำการบันทึกเสียง เมื่อเดือน มีนาคม 2527 ที่ห้องบันทึกเสียง “ศรีสยาม” ดินแดง กรุงเทพฯ

                                           บรรยากาศในห้องบันทึกเสียง"ศรีสยาม"


(ด้านหลัง) สุเทพ วงศ์กำแหง พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
(ด้านหน้า) อ.มนัส กันตวิรุฒ กิ่งกาญจน์ กาญจนา

ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา

วินัย พันธุรักษ์

รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส

จิตติมา เจือใจ

“การจัดทำเพลงชุดนี้ ได้เสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ในเดือนมีนาคม 2527 ในขณะที่หมอวีรชัยกำลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ด้วยโรคมะเร็งปอดในระยะสุดท้าย ผมได้นำม้วนเทปตัวอย่างที่ทำเสร็จไปให้หมอ วีรชัยดูที่โรงพยาบาล และหลังจากนั้นอีก 2 เดือน หมอวีรชัยได้จากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2527”
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2527 สโมสรอาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดงาน “ศรีตรังบานในดวงใจ” โดยได้เชิญนักร้องและนักดนตรีที่ให้ความช่วยเหลือในการจัดทำเทปเพลงชุด “มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง” มารับโล่เกียรติยศเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ จากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ อธิการบดี
เป็นที่น่าเสียดายว่า หมอวีรชัยได้จากไปก่อนหน้าที่จะมีการจัดงานครั้งนี้ ดังนั้น ผู้ที่เข้ารับโล่แทนในวันนั้น คือ ด.ญ.สิรกัญญา ศิริพานิชย์ บุตรสาวของนายแพทย์วีรชัย ศิริพานิชย์

 


นักร้องเกียรติยศถ่ายภาพพร้อมกับอธิการบดี

ด.ญ.สิรกัญญา ศิริพานิชย์ (น้องโน้ต) บุตรสาว
นพ.วีรชัย ศิริพานิชย์ เข้ารับโล่จากอธิการบดี

มนตรี สุปัญโญ
รับโล่จากอธิการบดี

พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
รับโล่จากอธิการบดี

ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
รับโล่จากอธิการบดี

จิตติมา เจือใจ
รับโล่จากอธิการบดี

กิ่งกาญจน์ กาญจนา
รับโล่จากอธิการบดี


   

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน