เฉลยปัญหาประจำเดือนธันวาคม 2563

 

ปัญหาข้อที่ 1 :
ลาทีปีเก่า ทุกข์โศกเศร้า หมดสิ้นกันที
ชีวิตเคยร้าวฤดี ขออย่ามี ในปีใหม่
ขอพรพระทั้งโลก ช่วยดับโศก ให้สดใส
สิ่งร้ายให้ผ่านไป ตั้งต้นใหม่ ให้ดีเอย

คำถาม     :
อยากทราบว่า เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร ฟังเพลง {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song63/song1263-c.mp3{/audio}


คำตอบ     :
เพลง "ลาทีปีเก่า" ฟังเพลงเต็มเพลง {audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song63/song12-63.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

เพลง “ลาทีปีเก่า” เป็นเพลงที่ใช้ในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ได้รับความนิยมมากอีกเพลงหนึ่งในอดีต โดยมี กมล ทัพคัลไลย เป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนอง เพลงนี้เป็นเพลงที่มีความไพเราะมาก สามารถนำเอานักร้องยอดนิยม ในยุคนั้น คือ นริศ อารีย์ , สุเทพ วงศ์กำแหง และ ชรินทร์ นันทนาคร มาร้องเพลงหมู่ร่วมกันได้

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

คำถาม     : วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวัน
ก.วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ข.วันชาติ
ค.วันพ่อแห่งชาติ
ง.ถูกทุกข้อ

อยากทราบว่า คำตอบข้อไหนถูกต้องที่สุด

คำตอบ     :
ข้อ ง.ถูกทุกข้อ

เกร็ดความรู้

5 ธันวาคม ของทุกปีนับเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เป็นวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ

ต่อมา หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดวันสำคัญของชาติไทย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 มีใจความสำคัญดังนี้

การกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสำคัญของชาติไทยดังนี้
1.เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
2.เป็นวันชาติ
3.เป็นวันพ่อแห่งชาติ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นไป

ดังนั้นจากประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรีข้างต้นนี้จึงทำให้วันที่ 5 ธันวาคม ของชาวไทยเป็นมากกว่าวันพ่อ แต่ยังเป็นวันสำคัญใน 3 โอกาส คือนอกจากเป็นวันพระบรมราชสมภพในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้ว ยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ และวันชาติ อีกด้วย

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

ฟังเพลง

{audio}http://192.168.100.53/~psuhistory/media/song63/song0163-c.mp3{/audio}

เฉลยปัญหาประจำเดือนตุลาคม 2563

 

ปัญหาข้อที่ 1 :
คำถาม     : อยากทราบว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด “อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา)” ที่พื้นที่ส่วนขยาย ตำบลทุ่งใหญ่ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันที่เท่าไร เดือนอะไร พ.ศ.ใด

คำใบ้     : ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้จากเว็ปไซต์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำตอบ     : วันที่ 24 กันยายน 2563

เกร็ดความรู้

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) ที่พื้นที่ส่วนขยาย ตำบลทุ่งใหญ่ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในวันที่ 24 กันยายน 2563 โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัย เฝ้าฯ รับเสด็จฯ

หลังจากนั้นทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) แล้ว ทรงรับฟังการถวายรายงานภาพรวมของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้


และ ทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานนวัตกรรมเด่นด้านต่าง ๆ เช่น ด้านยางพารา ด้านสุขภาพ และด้านอาหาร เป็นต้น


จากนั้นทรงปลูกต้นศรีตรังซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการเพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคเอกชนในภูมิภาคภาคใต้ เพื่อนำทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานวิจัยในภาครัฐมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ภาพและข้อมูล..งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

คำถาม     : อยากทราบว่า เพลงประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีครูชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพุทธศักราช 2536 เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง มีชื่อเพลงว่าอะไร

คำใบ้     : เพลงนี้ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยฯ ในยุคที่ 3

คำตอบ     :
ตามรอยพระยุคลบาท

เกร็ดความรู้

เพลง “ตามรอยพระยุคลบาท” เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในยุคที่ 3 เพลงนี้ประพันธ์ โดย ครูชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ ผู้ประพันธ์ทำนอง และเรียบเรียงเสียงประสาน คือ ครูพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ซึ่งเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน และเสาอากาศทองคำ โดยมี คุณสุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ขับร้อง และขับร้องหมู่โดยนักร้องประสานเสียง กรมศิลปากร

เพลงนี้เป็นอีกเพลงหนึ่งที่มีความไพเราะ ซึ่งอยู่ในเทปและซีดีเพลงมหาวิทยาลัย ชุด "ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก" จัดทำเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ


เฉลยปัญหาประจำเดือนพฤศจิกายน 2563

 

ปัญหาข้อที่ 1 :
คำถาม     : อยากทราบว่า ภาพหอดูนก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทัศนียภาพอันสวยงามแห่งนี้ อยู่ที่บริเวณป่าชายเลนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตใด

คำตอบ     : วิทยาเขตปัตตานี

เกร็ดความรู้

หอดูนก ม.อ. เป็นสถานที่ที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ใต้หอสูงที่ใช้ขึ้นมาส่องนก ทัศนียภาพบริเวณนี้มีความสวยงามและต้นโกงกางมากมาย พื้นที่นี้อยู่ใกล้กับป่าชายเลน หลังอาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อยู่ภายใต้การดูแลของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


หอดูนกแห่งนี้ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ เป็นที่พำนักอาศัยของนกนานาชนิด และเป็นกำแพงธรรมชาติที่สามารถป้องกันคลื่นลมมรสุม

 

นอกจากนี้ยังใช้เป็นห้องเรียนธรรมชาติของนักเรียน นักศึกษา ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เหมาะแก่การท่องเที่ยว มีความปลอดภัย สงบ ร่มรื่นและสวยงาม

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

คำถาม     : ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งล่าสุด ครั้งที่ 49 ประจำปีการศึกษา 2562 เมื่อวันที่ 11-13 กันยายน 2563 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติขอ พระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านใด แด่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

คำใบ้     : ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้จากเว็ปไซต์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำตอบ     :
ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

เกร็ดความรู้

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 49 ประจำปีการศึกษา 2562 เมื่อวันที่ 11-13 กันยายน 2563 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖o ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สภามหาวิทยาลัยได้มีมติทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี




(คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)


ภาพและข้อมูล..งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

เฉลยปัญหาประจำเดือนสิงหาคม 2563

 

ปัญหาข้อที่ 1 :

คำถาม     : ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งล่าสุด ครั้งที่ 48 ประจำปีการศึกษา 2561 เมื่อวันที่ 7-9 กันยายน 2562 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านใด แด่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

คำใบ้     : ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้จากเว็ปไซต์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำตอบ     : ทันตแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

เกร็ดความรู้

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 48 ประจำปีการศึกษา 2561 เมื่อวันที่ 7-9 กันยายน 2562 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖o ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สภามหาวิทยาลัยได้มีมติทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาทันตแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี



(คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :

 

คำถาม     : ครูพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2560 เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งแต่ยุคที่ 2 (ปี 2527) จนถึงปัจจุบัน เพลง ม.อ. ที่ท่านเป็นผู้เรียบเรียง มีทั้งหมดเกือบ 20 เพลง ในเพลงเหล่านี้มีเพลง ม.อ. เพลงหนึ่งที่นอกจากท่านจะเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานแล้ว ท่านยังเป็นผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองด้วย อยากทราบว่า เพลงนั้นมีชื่อเพลงว่าอะไร

คำใบ้     : เพลงนี้เป็นเพลง ม.อ. ยุคที่ 3 ศิลปินที่ทำการขับร้องเพลงนี้คือ ทิพย์วัลย์ ปิ่นพิบาล

คำตอบ     :
เพลง อำลา-อาลัย

เกร็ดความรู้

ในบรรดาเพลงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกือบ 20 เพลง ที่ครูพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2560 มีเพียงแค่เพลงเดียวเท่านั้น ที่ครูพิมพ์ปฏิภาณ เป็นผู้ประพันธ์ คำร้องและทำนองเอง เพลงนี้ชื่อว่าเพลง อำลา-อาลัย ขับร้องโดยคุณทิพวัลย์ ปิ่นภิบาล



ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ


ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน