เฉลยปัญหาประจำเดือน ธันวาคม 2550

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : “ทิวสนโยนยอดไหวใบก้าน      ลมพัดพานต้นเอนลมลู่
โยกไกวไหวพรู เพ่งพิศน่าดู      งามเชิดชูสถาบัน”
   
  เพลงนี้ชื่อเพลงอะไร และใครเป็นผู้ขับร้อง
   
คำตอบ      : ชื่อเพลง “ถิ่นศรีตรัง” ขับร้องโดย “เลิศ ประสมทรัพย์”
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/song50/ถิ่นศรีตรัง เต็ม.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

                เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เพลง “ถิ่นศรีตรัง” เป็น 1 ใน 4 เพลงที่จัดทำขึ้นในยุคแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่งและบรรเลงโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์ เพลงชุดนี้บันทึกเสียงในรูปแบบแผ่นเสียงความเร็ว 45 RPM ระบบโมโน สำหรับในการจัดทำครั้งต่อๆ มา ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำเทปชุด “มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง” เมื่อปี 2527 รวมทั้งการจัดทำเทปและซีดีชุด “ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก” ในปี 2544 ก็ได้นำเอาเพลงนี้มารวมไว้ด้วย


คุณพูลสุข สุริยะพงษ์รังษี (ซ้าย)

               อนึ่ง ในการนำ 4 เพลงดังกล่าวมารวมไว้ในเทปและซีดีชุด “ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก” การจัดทำครั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณพูลสุข สุริยะพงษ์รังษี1 หัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์คนปัจจุบัน ได้นำเพลง “เขตรั้วสีบลู”, “สงขลานครินทร์”, “ถิ่นศรีตรัง” และ “รำวงน้องก็อีกราย” ซึ่งวงดนตรีสุนทราภรณ์ (สมัยครูเอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง) บันทึกไว้เดิมในระบบโมโนมาดำเนินการเสริมดนตรีใหม่ให้เป็นระบบสเตอริโอ รวมทั้งแต่งเสียงให้สมบูรณ์โดยใช้เสียงร้องเดิม
               เพลง “ถิ่นศรีตรัง” เป็นเพลงในจังหวะตะลุงเท็มโป้ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า จังหวะตะลุง เป็นจังหวะลีลาศประเภทเบ็ดเตล็ดที่คนไทยคิดขึ้น และได้รับความนิยมอย่างมากในงานสังคมทั่วไป ดัดแปลงจากทำนองดนตรีภาคใต้
               ผู้ประพันธ์คำร้อง เพลง “ถิ่นศรีตรัง” คือ ครูธาตรี2 ผู้ประพันธ์ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน3 โดยมี คุณเลิศ ประสมทรัพย์4 เป็นผู้ขับร้อง
               เนื่องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา ครูธาตรีจึงได้สอดแทรกเอกลักษณ์ของเมืองสงขลาไว้ในเนื้อเพลงท่อนที่ 3 ด้วย


“เสียงคลื่นซัดฝั่ง คลั่งครื้นครืนประโคม คลื่นครวญบรรโลม พรมพริ้วปลิวละออง
เกาะหนู เกาะแมว ตะคุ่มน่ามอง ดั่งแมวนั่งจ้องมองหนู”

               จะเห็นได้ว่า เพลงทั้ง 4 เพลงในยุคแรกเริ่ม ไม่ว่าจะเป็นเพลงเขตรั้วสีบลู, สงขลานครินทร์, ถิ่นศรีตรัง และ รำวงน้องก็อีกราย ถึงแม้จะผ่านกาลเวลามานานแสนนาน ก็ยังคงเป็นเพลงที่ให้ความไพเราะกินใจแก่พวกเราชาว ม.อ. เรื่อยมา และสามารถดำรงความเป็นอมตะมาได้ตราบจนทุกวันนี้

1. พูลสุข สุริยะพงษ์รังษี
               หัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์คนปัจจุบัน
2. ครูธาตรี หรือ วิชัย โกกิลกนิษฐ์
                 ครูเพลงอีกคนหนึ่งที่เข้ามาร่วมงานกับวงดนตรีสุนทราภรณ์มาเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นผู้แต่งคำร้องเพลงแรกให้ คุณรวงทอง ทองลั่นธม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง เพลงไทยสากลขับร้อง พ.ศ. 2539 ในเพลง จำได้ไหม ตามมาด้วยเพลง ตัดสวาท, เพื่อคุณ, ขยี้ใจ, บนลานลั่นทม, ผู้หญิงก็มีหัวใจ, วิมานสีชมพู คุณบุษยา รังสี เกิดและโด่งดังด้วยคำร้องของครูธาตรี จากเพลง น้ำตาดาว ตามมาด้วย รักวันเติมวัน, ลาภูพิงค์, ใกล้มือคว้า, สั่งไทร, สุดแท้แต่จะให้ คุณอ้อย อัจฉรา เกิดและโด่งดังด้วยคำร้องของครูธาตรี จากเพลง กุญแจใจ และ อ้อยใจ
               ผลงานเพลงของครูธาตรีที่ได้รับความนิยมมีอีกมากมาย อาทิ ความหมายในดวงตา, ยายกะตา, เสียดายเดือน, ไม่ขอเป็นดาว ฯลฯ
               ครูธาตรี เป็นผู้แต่งเพลงสถาบันไว้หลายเพลง อาทิ ขวัญมอดินแดง, ลาก่อนขอนแก่น, ธรรมศาสตร์รักกัน, เงาโดม, อาลัยโดม, รั้วแดงกำแพงเหลือง, ปราสาทแดง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อ่างแก้วขวัญใจ, ลาแล้วเวียงขวัญ, ลาภูพิงค์, ศรีตรัง ฯลฯ
3. ครูเอื้อ สุนทรสนาน
               อดีตหัวหน้าวงสุนทราภรณ์ ผู้ประพันธ์ทำนองและผู้ขับร้องเพลงที่มีความไพเราะมากมาย อาทิ ขอให้เหมือนเดิม นางฟ้าจำแลง นวลปรางนางหมอง กังหันต้องลม ขอพบในฝัน ฯลฯ
4. คุณเลิศ ประสมทรัพย์
               เป็นนักร้องที่อยู่กับวงสุนทราภรณ์มาเป็นระยะเวลายาวนาน เลิศเป็นนักร้องชายที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่รู้จักกันในแนวเพลงตลก ร้องคู่กับศรีสุดา รัชตะวรรณ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวงสุนทราภรณ์
               เพลงที่ส่งให้เลิศมีชื่อเสียงมาก คือเพลง “ข้างขึ้นเดือนหงาย” และเพลง “ชมนาง” แต่เพลงที่ผู้ฟังนิยมชมชอบ คือเพลงจังหวะเร็ว ซึ่งแทรกความตลกไว้ในเพลง เช่น เพลงในจังหวะตะลุง และเพลงที่สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมในระหว่างการบรรเลง ได้แก่ เพลง “จุดไต้ตำตอ” และ “สาวหนุ่มบ้านแต้” ที่ร้องคู่กับศรีสุดา รัชตะวรรณ ปัจจุบันคุณเลิศได้เสียชีวิตไปแล้ว

ถ่ายทอดข้อมูลโดย อ.มนัส กันตวิรุฒ

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
   
คำถาม     : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.ใด และ พระราชทาน ณ วิทยาเขตหรือเขตการศึกษาใด
   
คำตอบ     : ปี พ.ศ. 2515 ณ วิทยาเขตปัตตานี
   

เกร็ดความรู้

 

 

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2515


               ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางวิศวกรรมเครื่องกลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในสาขาต่างๆ ที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 82 คน มีดังนี้

               คณะวิศวกรรมศาสตร์
                              ปีการศึกษา 2513                จำนวน           13      คน
                                        - วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต      เกียรตินิยมอันดับ      2                                   จำนวน        2    คน
                                        - วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต                                                                            จำนวน      11    คน

                              ปีการศึกษา 2514                จำนวน 22 คน
                                         - วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต      เกียรตินิยมอันดับ     2                                    จำนวน      2     คน
                                         - วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต                                                                            จำนวน   20      คน

               คณะศึกษาศาสตร์
                              ปีการศึกษา 2514                จำนวน           47      คน
                                       - วิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์)           เกียรตินิยมอันดับ 1                  จำนวน      1      คน
                                       - วิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์)           เกียรตินิยมอันดับ 2                  จำนวน      3      คน
                                       - วิทยาศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์)                                                           จำนวน      23    คน

                                       - ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์)              เกียรตินิยมอันดับ 2                 จำนวน       2     คน
                                       - ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์)                                                              จำนวน    18     คน


พระบรมราโชวาท

(คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่)

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย คุณเรณู ชมชาญ
เอื้อเฟื้อภาพโดย ผศ.ดร.วิชัย นภาพงษ์
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย อ.มนัส กันตวิรุฒ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน