เฉลยปัญหาประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2554

ปัญหาข้อที่ 1  :
คำถาม      : บุคคลในภาพคือใคร ให้ระบุชื่อและนามสกุลอย่างชัดเจน
คำใบ้        : บุคคลท่านนี้ คืออธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำตอบ     : ฯพณฯ พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์

เกร็ดความรู้

ในเดือนมกราคม 2507 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ชุดใหม่ขึ้น โดยมี ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น เป็นประธาน คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ชุดใหม่ได้ดำเนินการตามโครงการที่จะจัดให้มีมหาวิทยาลัยในภาคใต้ต่อไป
ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2508 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับหลักการจัดตั้งมหาวิทยาลัยภาคใต้ และแต่งตั้งคณะกรรมการก่อตั้งมหาวิทยา
ลัยภาคใต้
ขึ้น โดยมี ฯพณฯ พันเอกถนัด คอมันตร์ เป็นประธาน
หลังจากนั้น ในปีการศึกษา 2510 มหาวิทยาลัยภาคใต้  ได้เริ่มรับนักศึกษาเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นรุ่นแรก จำนวน 50 คน
โดยฝากเรียนอยู่กับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
จนกระทั่ง  ในวันที่ 22 กันยายน 2510 มหาวิทยาลัยภาคใต้  ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า  “มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์”
และได้มีประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฉบับแรก ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85  ตอนที่  24  เมื่อวันที่  12
มีนาคม 2511 ซึ่งมีผลบังคับในวันต่อมา คือวันที่ 13 มีนาคม 2511
ต่อมา ในวันที่ 17 มิถุนายน 2511 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ เป็นอธิการบดี และศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นรองอธิการบดี
ดังนั้น จึงถือได้ว่า ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์




ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ อธิการบดี (สมัยนั้น) ต้อนรับและให้โอวาท
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะแรก ที่ย้ายลงภาคใต้มาประจำ
ที่ศูนย์ปัตตานี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2511




ในวันที่ 26 มีนาคม 2512 ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี เนื่องจากมีภาระหน้าที่ทางกระทรวงการต่างประเทศอยู่เป็นอันมาก
ต่อมา วันที่ 18 กันยายน 2515 เมื่อ ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร พ้นวาระการดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คนแรกแล้ว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ฯพณฯ พันเอก ถนัด คอมันตร์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นคนที่ 2


 

โดยท่านได้ดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 4 วาระ แต่ในวาระที่ 4 ซึ่งเป็นวาระสุดท้าย ท่านดำรงตำแหน่งไม่ครบ 2 ปี (18 กันยายน 2521 – 23 สิงหาคม 2522) เนื่องจากมีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2522

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย... อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :
คำถาม     : พิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค อยู่ในวิทยาเขตใด
ก) วิทยาเขตภูเก็ต
ข) วิทยาเขตตรัง
ค) วิทยาเขตปัตตานี
ง) วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
คำใบ้        : ค้นหาคำตอบของข้อนี้ได้จากเว็บไซต์ของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
คำตอบ     : ค) วิทยาเขตปัตตานี

เกร็ดความรู้

เรือนอำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค เป็นบ้านไม้หลังใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นความสามารถของเจ้าของเรือนและนายช่างในการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและตะวันตกได้อย่างกลมกลืนกัน   โดยผู้เป็นเจ้าของ  คือ  อำมาตย์โท  พระยาพิบูลพิทยาพรรค  (ทอง คุปตาสา)   ดำรงตำแหน่ง  กรรมการมณฑลปัตตานีและกรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช
บ้านโบราณหลังนี้มีหลังคา  รวมทั้งลวดลายแกะสลัก  ตกแต่งตามลักษณะบ้านแบบยุโรปที่เริ่มสร้างในประเทศไทย  ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีหน้าต่างแคบยาว ตีไม้เป็นบานเกล็ดตายตัว แต่มีหน้าจั่วเพิ่มมาด้านหน้า ตัวบ้านทาสีฟ้าอ่อนตัดขอบด้วยสีฟ้าเข้ม
บ้านหลังนี้  สร้างโดยช่างชาวจีน  เสร็จประมาณปี  พ.ศ. 2476 อันเป็นปีที่พระยาพิบูลพิทยาพรรคลาออกจากราชการ  เดิมบ้านตั้งอยู่เลขที่ 3
ถนนสฤษดิ์ บ้านหันมาทางทิศใต้ เยื้องกับโรงพยาบาลปัตตานีเก่า
ลักษณะเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น
สูงจากพื้นดินประมาณ 170 ซม. มีเนื้อที่ชั้นล่างและชั้นบนเท่ากัน ชั้นละ 90 ตารางเมตร ชั้นล่างมี 3 ห้อง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 5 ห้อง
หลังจากที่พระยาพิบูลพิทยาพรรคถึงแก่กรรมในปี   พ.ศ. 2509   จนถึงปี พ.ศ. 2519   ผู้ที่สืบทอดบ้านหลังนี้   คือ  ว่าที่ร้อยตรีปราโมทย์ และ  อาจารย์จีรพรพิชญ์ เชาวน์วาณิชย์ ซึ่งว่าที่ร้อยตรีปราโมทย์ เกรงว่าบ้านหลังนี้ ซึ่งมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ อาจชำรุดได้   เนื่อง
จากตั้งอยู่ในสภาพเป็นแอ่ง จึงแจ้งกับ อาจารย์ปัญญ์ ยวนแหล รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ในขณะนั้นว่าประสงค์จะบริจาคให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาวิจัยต่อไป
ต่อมา ว่าที่ร้อยตรีปราโมทย์ได้ขายที่ดินบริเวณบ้านให้แก่นายสมยศ ฉันทวานิช โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องบริจาคบ้านหลังนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเตรียมการเคลื่อนย้านบ้านหลังนี้ เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน 2535 ในสมัยที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ผดุงยศ ดวงมาลา เป็นรองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมี นาย Eric Bogdan สถาปนิกชาวฝรั่งเศสที่เป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิจัยโครงการ Grand Sud มหาทักษิณ เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ของการเคลื่อนย้ายบ้านหลังนี้
ในเดือนพฤศจิกายน 2535 นายบ็อกด็อง ใช้เวลาประมาณ 20 วัน สำหรับการแกะแบบและถอดชิ้นส่วนบ้าน
ในเดือนมีนาคม 2537 จึงได้เริ่มลงมือประกอบบ้านโดยใช้ช่างท้องถิ่นประมาณ 10 คน จนแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2538 โดยมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและประกอบเป็นเงินประมาณ 800,000 บาท
การรื้อบ้านโบราณและประกอบใหม่หลังนี้ เป็นหนึ่งในการย้ายอาคารหลังใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วโลก และสำหรับบ้านที่มีหลังคาและจั่ว เช่นบ้านที่พระยาพิบูลพิทยาพรรคสร้างนี้ อาจไม่เคยปรากฏมาก่อน สถาปนิกและช่างต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำงาน เพื่อรักษาบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด
ส่วนที่ต่างไปจากเดิม คือเพิ่มชายคาลายฉลุชั้นนอกของบ้าน เปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ส่วนสีบ้านได้เปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีขาว เพื่อให้เข้ากับพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน กระจกช่องแสงใช้แบบลาย และเพิ่มบันไดสองข้างหน้าระเบียงที่ยื่นออกมาจากเฉลียง
โครงการจัดตั้งสถาบันกัลยาณิวัฒนาเพื่อการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ ได้ใช้เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลพิทยาพรรคเป็นที่ทำการ โดยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จประกอบพิธีเปิดโครงการ

 

 

ปัจจุบันเรือนอำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเครื่องใช้ของอำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรคและภรรยา นอกจากนั้น เรือนหลังนี้ยังเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการเนื่องในโอกาสต่างๆ โดยอยู่ในความดูแลของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา



ข้อมูลโดย...สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ

 

 

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน