เฉลยปัญหาประจำเดือน มีนาคม 2552

ปัญหาข้อที่ 1 :
 
 
“ ฝากหัวใจในสถานการศึกษา 
เทิดบูชาวิทยาศาสตร์สามารถแสน
ช่อศรีตรังฝังใจไม่คลอนแคลน
รักดินแดนถิ่นนี้ชื่อศรีตรัง "
 
 
คำถาม :
ใครเป็นผู้ขับร้อง
 
 
 
ก) สุเทพ วงศ์กำแหง  และ  สวลี ผกาพันธ์
ข) ไอซ์ ศรัณญู  และ  โรส ศิรินทิพย์
ค) ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา  และ  ดาวใจ ไพจิตร
   
คำตอบ : ค) ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา และ ดาวใจ ไพจิตร {audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/song52/ฝากหัวใจไว้ที่วิทยาศาสตร์-มีค52.wma{/audio}
 
 

เกร็ดความรู้

 

              เพลง “ ฝากหัวใจไว้ที่วิทยาศาสตร์ ” เป็นเพลงมหาวิทยาลัยอีกเพลงหนึ่งที่อยู่ในชุด “ ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก ” ซึ่งจัดทำขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์

             เพลง ม.อ. ชุดนี้ รศ.ดร.ธวัช ชิตตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น ได้มีดำริให้จัดทำขึ้น โดยมอบหมายให้ผมเป็นผู้ประสานงานในการจัดทำ

             ผมเอง มีความคิดว่า เมื่อเพลงชุดนี้จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 35 ปี คณะวิทยาศาสตร์ ก็ควรที่จะมีเพลงสักเพลงหนึ่งเป็นเพลงของคณะวิทยาศาสตร์

             ผมได้นำความคิดนี้ไปหารือกับพี่วันเนาว์ (รศ.วันเนาว์ ยูเด็น1) เพื่อขอให้ช่วยแต่งเพลงนี้ หลังจากนั้นไม่นาน พี่วันเนาว์ก็นำเนื้อร้องมาให้ผมดูที่ ม.อ. หาดใหญ่  พร้อมกับนำแอคคอเดียนมาบรรเลงเป็นทำนองให้ฟังด้วย โดยพี่วันเนาว์บอกกับผมว่าใช้เวลานานพอสมควรในการแต่งเพลงนี้ เพราะเพลงที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นั้น กว่าจะแต่งให้เนื้อร้องมีความสละสลวย และมีความกลมกลืนกับเสียงดนตรีนั้น ทำได้ค่อนข้างยากมาก

             ผมได้นำเพลง  “ ฝากหัวใจไว้ที่วิทยาศาสตร์ ”  ที่เพิ่งแต่งเสร็จ  รวมทั้งเพลงอื่นๆ  ที่อยู่ในชุด  เข้ากรุงเทพฯ เพื่อมอบให้กับ
“ พี่พิมพ์ ” (พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์2) ซึ่งรับจะเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงชุดนี้ให้

             “ พี่พิมพ์ ” ได้ให้คำแนะนำว่า เพลงนี้น่าจะทำเป็นเพลงคู่ ซึ่งผมก็เห็นด้วย โดยผมกำหนดให้นักร้องชายที่จะเป็นผู้ขับร้องเพลงเพลงนี้ คือ พี่ปื๊ด (ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา3) ส่วนนักร้องหญิง พี่พิมพ์บอกว่าให้ “ หมู ” (ดาวใจ ไพจิตร4) เป็นคนร้อง

 

ดาวใจ ไพจิตร และ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ในห้องบันทึกเสียงเจ้าพระยาสตูดิโอ
 
             เพลงนี้ บันทึกเสียงที่เจ้าพระยาสตูดิโอ ถนนอรุณอัมรินทร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2544 โดยมีพี่วันเนาว์และพี่มะเนาะ เข้าฟังการบันทึกเสียงด้วย
 
ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา กำลังซ้อมเพลง
กับ พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา, ผศ.มะเนาะ ยูเด็น
และ รศ.วันเนาว์ ยูเด็น
 
             การบันทึกเสียงเพลง “ ฝากหัวใจไว้ที่วิทยาศาสตร์ ” ในวันนั้น เสร็จสิ้นลงด้วยความพอใจของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้แต่งเพลง (ผศ.วันเนาว์ ยูเด็น) ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน (พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์) รวมทั้งตัวผมเองด้วย
             เพลงนี้ นอกจากจะมีความไพเราะแล้ว ยังมีจุดเด่นที่ท่วงทำนองของเพลงสอดรับ คล้องจองกันได้ดีเป็นพิเศษ ทั้งๆ ที่เสียงร้องของนักร้องทั้ง 2 ท่าน แตกต่างกันอย่างมากด้วยลีลาการร้องและโทนเสียง เพราะโทนเสียงของคุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา จะค่อนข้างทุ้ม นุ่มลึก ส่วนของคุณดาวใจ ไพจิตร จะใสและกังวานแหลม แต่ด้วยความสามารถของนักร้องและฝีมือของคุณพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน จึงทำให้เพลงนี้มีความไพเราะ ชวนฟังยิ่งขึ้น
 

1. รองศาสตราจารย์วันเนาว์ ยูเด็น
      อดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีผลงานบทกวีที่มีความไพเราะมากมาย ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว

   
2. พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
      ครูเพลงนักเรียบเรียงเสียงประสานชื่อดังเจ้าของผลงานเพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียง ทองคำพระราชทาน และรางวัลเสาอากาศทองคำมากมาย อาทิ


     เพลง “ ไทยธำรงไทย ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2514
     เพลง “ น้ำตาหรือจะแก้ปัญหาใจ ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2518
     เพลง “ ตะแลงแกงแทงใจ ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2520
     เพลง “ พะวงรัก ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2521
     เพลง “ สุดเหงา ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2525

   
3. ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
      ศิลปินมากความสามารถ มีผลงานด้านร้องเพลง แสดงภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ มากมาย เพลงแรกที่ร้องอัดแผ่นเสียง คือ  “ เอื้องดอกฟ้า ”  มีลีลาการร้องทอดเสียงออดอ้อนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองจนได้รับฉายานักร้องเสียงระทม เพลงที่ร้องล้วนแล้วได้รับความนิยมทั้งสิ้น  อาทิ เดือนต่ำดาวตก  หอรักหอร้าง  นารี  อยู่เพื่อคอยเธอ วันคอย นกเอี้ยงจ๋า
ยามชัง เพื่อความรัก ไกลชู้ ฐานันดรรัก ดึกเอยดึกแล้ว ไม่รักไม่ว่า ฯลฯ

      -  เป็นอดีตหนึ่งในสมาชิกวงดนตรี “ สามศักดิ์ ”
      -  ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึง 3 ครั้ง          จากเพลงแมวเหมียว ใกล้เข้ามาแล้ว และ ไร้อารมณ์
      -  ได้รับรางวัลเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
         ราชกุมารี ให้เป็นผู้ขับร้องเพลงไทยสากล โดยใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องชัดเจนในปี พ.ศ.
         2534
   

4. ดาวใจ ไพจิตร
      นักร้องเพลงไทยสากลอาชีพ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด ระหว่างปีพ.ศ. 2515 – 2525 ได้รับรางวัลเกียรติยศหลายรางวัล
      -  เพลงยอดนิยมยอดเยี่ยม เสาอากาศทองคำของสถานีวิทยุเสียงสามยอด ประจำปี
         พ.ศ. 2518 ในเพลง “ อย่ามารักฉันเลย ”
      -  ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำของสถานีวิทยุเสียงสามยอด ประจำปี 2531 ประเภทนัก
         ร้อง ในเพลง “ หยาดน้ำฝนหยดน้ำตา ”
      -  ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในเพลง “ น้ำตาดารา ” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม
        2523
      -  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็นผู้ขับร้องเพลง โดยใช้ภาษาไทยที่ถูก
         ต้อง ชัดเจนที่สุด จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 9
         สิงหาคม พ.ศ. 2534
        เพลงที่ได้รับความนิยม ได้แก่ คืนทรมาน ทำไมถึงทำกับฉันได้ นางฟ้าที่ถูกลืม ยิ่งกว่าการฆ่า ส่วนเกิน ส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ

ถ่ายทอดข้อมูล โดย อ.มนัส กันตวิรุฒ
 

 

ปัญหาข้อที่ 2 :
 
คำถาม :

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดรับนักศึกษาคณะใดเป็นคณะแรก

 
 
 
ก) คณะวิศวกรรมศาสตร์
ข) คณะศึกษาศาสตร์
ค) คณะวิทยาศาสตร์
 
 
คำตอบ :

ก) คณะวิศวกรรมศาสตร์

   

เกร็ดความรู้


             ในปีการศึกษา 2510 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เปิดรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นคณะแรก เป็นจำนวน 50 คน

             ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์คนแรก ได้แก่ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์

    นักศึกษารุ่นนี้ ใช้อาคารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เดิม มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
    ข้างโรงพยาบาลสงฆ์ ถนนศรีอยุธยา เป็นที่เรียน  (ปัจจุบันคือ คณะเภสัชศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหิดล) และเรียนอยู่ที่นี่จนกระทั่งจบการศึกษา ในปี พ.ศ. 2514
 
              สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่นักศึกษาคณะวิศวฯ จะต้องเรียน อาทิ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ฯลฯ จะมีอาจารย์ของ ม.อ. เอง เป็นผู้สอน อาทิ ดร.ประดิษฐ เชยจิตร, ดร.เย็นใจ เลาหวนิช, ดร.วิมลยุตต์ วรรณสว่าง เป็นต้น และจะมีผู้สอนอีกส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาช่วยสอน

ดร.ประดิษฐ์ เชยจิตร
ดร.เย็นใจ เลาหวนิช
ดร.วิมลยุตต์ วรรณสว่าง

              นักศึกษาจะเลือกภาควิชาที่เรียนในชั้นปีที่ 3 โดยในขณะนั้นมีภาควิชาทั้งสิ้น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาโยธา ภาควิชาเครื่องกล และภาควิชาไฟฟ้า โดยในแต่ละภาควิชามีอาจารย์ของ ม.อ. เอง เป็นผู้สอนและคอยดูแลนักศึกษา




              สำหรับการเรียน Engineering Practice หรือเรียกว่า เรียน shop ประเภทงานเชื่อม งานกลึง งานตะไบ จะไปฝากเรียนที่โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร
 
 
              บัณฑิตวิศวฯ รุ่นแรกที่จบการศึกษา มีจำนวนเพียง 13 คน ในจำนวนนี้มีเกียรตินิยมอันดับ 2 จำนวน 2 คน เนื่องจากจำนวนบัณฑิตที่จบในรุ่นนี้มีน้อยเกินไป จึงไม่มีการจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในปีนั้น

              ในปีต่อมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 31 สิงหาคม 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรที่หอประชุม   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
โดยมีบัณฑิตวิศวฯ รุ่นแรก (ปีการศึกษา 2513) และบัณฑิตวิศวฯ รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2514) เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรทั้ง 2 รุ่นพร้อมกัน รวมทั้งบัณฑิตศึกษาศาสตร์รุ่นแรก (ปีการศึกษา 2514) ก็เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในปีนี้ด้วย
 
ข้อมูลจากคำบอกเล่าของ
อ.สมพร เหรียญมโนรมย์ และ อ.สมชัย โภชนจันทร์(ศิษย์เก่าวิศวฯ รุ่นแรก)
และภาพจากหนังสืออนุสรณ์วิศวฯ ปี 2511 – 2512 และ ปี 2513
อ.มนัส กันตวิรุฒ...รวบรวมและเรียบเรียง



ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน