เฉลยปัญหาประจำเดือน มิถุนายน 2552

ปัญหาข้อที่ 1 :
 
 
“ ถิ่นพักใจใดจะปานเหมือนบ้านเกิด
เราทูนเทิดแนบใจไม่สลาย
น้ำใจห่วงหวงหามิคลาคลาย
ต่างมิหน่ายเหือดแล้งแหล่งไมตรี "
 
 
คำถาม :
เพลง “ ร่มศรีตรัง ” (Version 3) ซึ่งเสียงร้องเป็นนักร้องหญิง บันทึกเสียงเมื่อปี 2544 อยากทราบว่า
ใครเป็นผู้ขับร้อง
 
 
 
ก) นิโคล เทริโอ
ข) นันทิดา แก้วบัวสาย
ค) บุษยา รังสี
ง) โฉมฉาย อรุณฉาน
   
คำตอบ : ง)     โฉมฉาย อรุณฉาน {audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/song52/june09-full.mp3{/audio}

 

เกร็ดความรู้

 

              เพลง “ ร่มศรีตรัง ” เป็นเพลง ม.อ. อีกเพลงหนึ่ง ที่มีทำนองที่ไพเราะ และเนื้อร้องที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ
              ผู้แต่งเนื้อร้อง คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มะเนาะ ยูเด็น1 ส่วนผู้ประพันธ์ทำนอง คือ อาจารย์ปราโมทย์ กระมุท2  ทั้ง 2 ท่านเคยเป็นอาจารย์ สังกัด ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี เพลงนี้ มีการบันทึกเสียงอย่างเป็นทางการถึง 3 ครั้ง
 
 
              ครั้งแรก  บันทึกเสียงโดย คุณสุเทพ  วงศ์กำแหง  การบันทึกเสียงครั้งนี้  บันทึกที่ห้องบันทึกเสียง
“ ศรีสยาม ” เมื่อปี พ.ศ. 2527   โดยรวมไว้ในเทปเพลงชุด   “ มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง ”     ซึ่งจัดทำ
โดย  สมาคม นักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  โดยมีคุณพิมพ์ปฏิภาณ  พึ่งธรรมจิตต์3 เป็น
ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน    เนื่องจากเพลงนี้ยังไม่เคยมีการบันทึกเสียงมาก่อน    เวอร์ชั่นนี้   จึงถือได้ว่า
เป็น version 1

              การบันทึกเสียงครั้งแรกนี้ ผมเคยนำมาเล่าให้ฟังแล้วว่า มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เนื่องจากข้อจำกัด
ด้านเวลา  และปัญหาทางด้านการสื่อสาร   จึงทำให้จังหวะของเพลงที่เดิมกำหนดไว้เป็น   Slow  Waltz
กลายเป็น Quick Waltz   แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อเพลงนี้บันทึกเสียงเสร็จเรียบร้อย  ปรากฎว่าเพลงนี้มีความ
ไพเราะและมีลีลาน่าฟังไม่น้อย

เทปเพลงมอบดวงใจ
ไว้ที่ร่มศรีตรัง

เทปเพลงร่มศรีตรัง

              เพลง" ร่มศรีตรัง "ได้ถูกนำกลับมาบันทึกเสียงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจถือเป็น version 2 บันทึกเสียงโดยคุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี บันทึกที่ห้องบันทึกเสียง “ ไพบูลย์สตูดิโอ ”  ของครูไพบูลย์  ศุภวารี เมื่อปี พ.ศ. 2532 เป็นเพลงหนึ่งในเทปเพลงชุด “ ร่มศรีตรัง ” จัดทำเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และหาทุนจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี โดยมีผู้เรียบเรียงเสียงประสาน คือ คุณไชยศักดิ์ รุกขรังสฤษดิ์ เสียงใสๆ ของคุณเพ็ญศรี ช่วยทำให้เพลงนี้มีความไพเราะมาก น่าเสียดายที่เทปเพลงชุดนี้จำนวนที่ทำค่อนข้างน้อง จึงไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก
   

เทปและซีดีเพลงชุด
“ ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก”
              สำหรับ version 3  ซึ่งเป็นการบันทึกเสียงครั้งล่าสุด  เมื่อปี พ.ศ. 2544
ผมได้นำเพลงนี้กลับมาบันทึกเสียงใหม่ โดยแก้ไขสิ่งที่บกพร่องจากการบันทึกครั้งแรก และทำจังหวะใหม่เป็น Slow Waltz ตามที่ผู้แต่งกำหนดไว้  สำหรับผู้เรียบเรียงเสียงประสาน  มอบให้  “ พี่พิมพ์ ” (พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์) นำมาเรียบเรียงใหม่ด้วยลีลาเพลงที่ต่างออกไปจากเดิม สำหรับนักร้อง ตั้งใจไว้จะให้คุณเพ็ญศรีเป็นผู้ขับร้อง แต่เนื่องจากคุณเพ็ญศรีเลิกร้องเพลงไปก่อนหน้านี้   ผมจึงมอบให้คุณโฉมฉาย อรุณฉาน เป็นผู้ขับร้องแทน ในการบันทึกเสียงครั้งนี้ บันทึกที่ห้องบันทึกเสียง “ เจ้าพระยา ” และเพื่อให้เพลงนี้มีความถูกต้องและสมบูรณ์    ผมได้เชิญผู้ช่วยศาสตราจารย์มะเนาะ ยูเด็น  (ผู้แต่งเพลง)  และ  รองศาสตราจารย์วันเนาว์ ยูเด็น เข้าร่วมรับฟัง ในขณะที่
คุณโฉมฉาย อรุณฉาน4 บันทึกเสียงด้วย   เพลงร่มศรีตรัง version 3 นี้เป็นเพลงหนึ่ง
ที่รวมไว้ในเทปและซีดีเพลงชุด “ ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก” ซึ่งจัดทำขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ  35 ปี  แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์
   

พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์, โฉมฉาย อรุณฉาน
และ อ.มนัส กันตวิรุฒ

โฉมฉาย อรุณฉาน กำลังซ้อมเพลง “ ร่มศรีตรัง ”
กับ รศ.วันเนาว์ ยูเด็น
 
              เพลง “ ร่มศรีตรัง ” ทั้ง 3 version ล้วนแล้วแต่มีความไพเราะแตกต่างกันไปตามลีลาการร้องของนักร้องแต่ละท่าน สมควรที่คน ม.อ. จะแสวงหามาเก็บรวบรวมสะสมไว้ ก่อนที่จะหาได้ยากในอนาคต

 

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์มะเนาะ ยูเด็น
      อดีตคณบดีณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีผลงานบทกวีที่มีความไพเราะมากมาย ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว

   
2. อาจารย์ปราโมทย์ กระมุท
      อดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เคยดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2540 โดย เคยเป็นผู้อำนวยการหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ิ ปี พ.ศ. 2532-2539 ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว
   
3. พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
      ครูเพลงนักเรียบเรียงเสียงประสานชื่อดังเจ้าของผลงานเพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียง ทองคำพระราชทาน และรางวัลเสาอากาศทองคำมากมาย อาทิ


     เพลง “ ไทยธำรงไทย ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2514
     เพลง “ น้ำตาหรือจะแก้ปัญหาใจ ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2518
     เพลง “ ตะแลงแกงแทงใจ ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2520
     เพลง “ พะวงรัก ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2521
     เพลง “ สุดเหงา ”      ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ปี 2525

4. โฉมฉาย อรุณฉาน
      อดีตนักร้องดาวรุ่ง วงดนตรีสุนทราภรณ์ เพลง “ สมมติว่าเขารัก ” เป็นเพลงที่ส่งให้โฉมฉาย
อรุณฉาน มีชื่อเสียงและโด่งดังในวงการเพลงมาจนถึงปัจจุบัน
      เพลงที่ได้รับความนิยม คือ ฝากดวงใจ, ถ้าเธอยังรอฉันก็ยังรัก, มนต์รักดอยอ่างขาง, คอย
รักคืนรัง, ภวังค์รัก, ฝันรัญจวน, อินทนนท์, คลื่นโลมทราย ฯลฯ
      ปัจจุบันเป็นหัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และเลขาธิการสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย
 

 ถ่ายทอดข้อมูลโดย อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :
 
คำถาม :

อธิการบดีท่านใด เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 
 
 
ก) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์
ข) รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์
ค) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ สกุลไทย์
ง) รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ชิตพงษ์
 
 
คำใบ้ :

มหาวิทยาลัยได้ใช้ชื่อและนามสกุลของอธิการบดีท่านนี้ เป็นชื่ออาคารที่ทำการของสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 
 
คำตอบ :

ค)     ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ สกุลไทย์

   

เกร็ดความรู้


              พ.ศ. 2517 เป็นปีที่ 7 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ สกุลไทย อธิการบดีในสมัยนั้น ได้มีดำริว่า มหาวิทยาลัยยังขาดสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือพวกเรากันเอง และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ออมทรัพย์ จึงร่วมมือกันจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ขึ้น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2517
              สอ.มอ. เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2517 โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี (ปัจจุบันเป็นอาคารบริหารคณะวิทยาศาสตร์)
 

              โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 169 คน สามารถเก็บทุนเรือนหุ้นจากสมาชิกในครั้งแรกได้ทั้งสิ้น 8,440 บาทปัจจุบัน สอ.มอ. มีสำนักงานให้บริการสมาชิกทั้งสิ้น 5 สำนักงาน
              1. สำนักงานใหญ่ (อาคารสวัสดิ์ สกุลไทย์)

              2. สำนักงานบริการคณะแพทยศาสตร์ (ชั้นล่างอาคาร รพ.สงขลานครินทร์)
              3. สำนักงานสาขาวิทยาเขตปัตตานี
              4. สำนักงานสาขาวิทยาเขตภูเก็ต
              5. สำนักงานสาขาวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

              ในปี พ.ศ. 2546 สอ.มอ. ได้รับคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นสหกรณ์ต้นแบบในปี พ.ศ. 2548 และ 2549


ผศ.บรรเจิด พฤฒิกิตติ ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อ.
เข้ารับพระราชทาน โล่ห์สหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2546
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2546 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

โล่ห์ประกาศเกียรติคุณสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นแห่งชาติ
ประจำปี 2546

              สหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ โดยในปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 มีสมาชิกทั้งสิ้น 8,723 คน ทุนเรือนหุ้น 1,842.81 ล้านบาท และสินทรัพย์ 9,654.72 ล้านบาท
 

ภาพจาก หนังสือ “ 30 ปี สหกรณ์ออมทรัพย์ ม.อ. จำกัด และรายงานประจำปี 2546 ”
ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน