k0766

เฉลยปัญหาประจำเดือนกรกฎาคม 2566

ปัญหาข้อที่ 1 :    
     
คำถาม :  

อยากทราบว่า ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข อธิการบดีคนที่ 2 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยใดในประเทศอังกฤษ

     
คำตอบ :  

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

 

เกร็ดความรู้

         ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข นอกจากดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในเวลาต่อมา) ท่านยังดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คนที่ 2 และเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

        ประวัติการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ท่านจบการศึกษาชั้นมัธยมแปดจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมาได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเคมีและปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเคมีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา อินทรีย์เคมีจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ (อ้างอิงจากหนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข)  

 k04

        ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

 

ปัญหาข้อที่ 2 :    
     

 คำถาม :

 

 อยากทราบว่างานเกษตรภาคใต้ซึ่งจัดโดยคณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างวันที่ 28 ก.ค. – 6 ส.ค. 2566 เป็นการจัดงานครั้งที่เท่าไร

     
คำตอบ :   ครั้งที่ 29

 

เกร็ดความรู้

        ในวาระที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีอายุครบรอบ 25 ปี คณะทรัพยากรธรรมชาติได้จัดงานเกษตรภาคใต้ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 โดยมีการจัดติดต่อกันเป็นประจำทุกปี สำหรับในปี 2563 และ 2564 ได้มีการงดจัดเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากมีการระบาดของโรคโควิด-19

         สำหรับงานเกษตรภาคใต้ประจำปี 2566 นับเป็นครั้งที่ 29 ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม - 6  สิงหาคม 2566 คาดว่าการจัดงานครั้งนี้จะมีผู้เข้าชมงานเป็นจำนวนมาก

k01

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย..อ.มนัส กันตวิรุฒ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน