เฉลยปัญหาประจำเดือน มกราคม 2553

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : เดือนมกราคม นอกจากจะเป็นเดือนแรกของปีแล้ว ยังเป็นเดือนที่สำคัญยิ่งของคน ม.อ. เนื่องจากเป็นเดือนพระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อยากทราบว่า พระองค์ท่านทรงพระราชสมภพในวันที่เท่าไร ของเดือนมกราคม
   
คำตอบ      : วันที่ 1 มกราคม

เกร็ดความรู้


          สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ องค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า            

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปิยมหาราช พระชนกนาถ  
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
(สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) พระมารดา

          พระองค์ทรงประสูติ ณ พระตำหนักสมเด็จพระบรมราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 ทรงพระนามลำลองว่า “ทูลกระหม่อมแดง”

                                                                                          พระตำหนักสมเด็จพระบรมราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง


พระโอรสธิดาในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี รวม 8 พระองค์ ได้แก่
1. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร (สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)
2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์)
3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา)
4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์)
5. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ (สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรี ราชสิรินธร)
6. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ)
7. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)
8. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง

พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระบรมราชเทวี และพระราชโอรสธิดา จากซ้าย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์

          วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 พระราชพิธีสมโภชเดือนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า

 
“ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวร
มหาราชาธิบดินทร จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณเบญจพร
ศิริสวัสดิ ขัตตินวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ
ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษย์ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ อรรควรราชกุมาร "


(ที่มาของข้อมูล : หนังสือ “เทิดพระนามมหิดล” มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส “40 ปี พระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2552)

 ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย... อ.มนัส กันตวิรุฒ

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
   
คำถาม     : หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตใด
   
  ก) วิทยาเขตตรัง
ข) วิทยาเขตภูเก็ต
ค) วิทยาเขตปัตตานี
ง) วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
 
   
คำตอบ     : ค) วิทยาเขตปัตตานี
   

เกร็ดความรู้

              

 

   หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ เกิดขึ้นด้วยการริเริ่มและดำเนินการของ ฯพณฯ พันเอกถนัด คอมันตร์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

          ซึ่งในขณะนั้น ฯพณฯ พันเอกถนัด คอมันตร์ เป็นกรรมการมูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ท่านได้นำเรื่องที่จะสร้างเข้าปรึกษากรรมการมูลนิธิ เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยมูลนิธิได้ให้งบประมาณมาก่อสร้างอาคาร เป็นเงินทั้งสิ้น 3,595,000 บาท ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกหอสมุดแห่งนี้ว่า หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ด้วย
          หอสมุดได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2513 เป็นอาคาร 2 ชั้น เนื้อที่ประมาณ 1,200 ตารางเมตร ติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง ทำพิธีเปิดใช้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2515 และเปิดให้บริการในปีการศึกษา 2516 เป็นต้นมา

 

          ในปี 2529 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารหอสมุดหลังใหม่เชื่อมต่อด้านหลังของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินในวงเงิน 33 ล้านบาท เนื้อที่ประมาณ 5,000 ตารางเมตร ติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง มีที่นั่งอ่านหนังสือประมาณ 500 ที่นั่ง

          อาคารหอสมุดหลังใหม่ สร้างแล้วเสร็จ (2 ชั้น) ในเดือนมกราคม 2531 และเปิดให้บริการตั้งแต่ภาคการศึกษาฤดูร้อน ปี 2531 อาคารดังกล่าวยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากความจำกัดในเรื่องงบประมาณ
          ในปีงบประมาณ 2538-2540 หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้รับงบประมาณ 17 ล้านบาท เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของหอสมุดฯ เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติตามโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PURINET) โดยระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่หอสมุดฯ ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
          ปี 2540 สำนักวิทยบริการได้รับงบประมาณในการต่อเติมอาคารหอสมุด (ชั้น 3) เป็นเงิน 19,650,000 บาท ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2543 เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543

(ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์ของสถาบันวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)



ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน