เฉลยปัญหาประจำเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2550

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : “ใต้เงาร่มไม้ใบบัง ศรีตรังงามเด่น เป็นศักดิ์ศรีมหาวิทยาลัย”
   
คำตอบ      : ชื่อเพลง “ตามรอยพระยุคลบาท” ขับร้องโดย คุณสุเทพ วงศ์กำแหง
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/song50/01-ตามรอย_เต็ม.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้

เทปซีดีเพลงมหาวิทยาลัย ชุด "ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก"
จัดทำเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์


               เพลง “ตามรอยพระยุคลบาท” เป็นอีกเพลงหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีความไพเราะ รวมอยู่ในชุด “ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก” ซึ่งจัดทำเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การจัดทำครั้งนี้ เป็นการรวมเพลงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด นับตั้งแต่มีการจัดทำมา โดยได้นำเพลงเก่าและเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ มารวมไว้ถึง 20 เพลง โดยผลิตในรูปแบบซีดีและเทปคาสเซ็ท จำนวนอย่างละ 2,000 ชุด บันทึกเสียงเมื่อเดือนมีนาคม 2544 ที่เจ้าพระยาสตูดิโอ ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยเทปต้นฉบับได้มีการบันทึกในรูปแบบของเทป DAT (Digital Audio Tape)
               เพลง “ตามรอยพระยุคลบาท” ผู้ประพันธ์คำร้อง คือ คุณชาลี อินทรวิจิตร* ศิลปินแห่งชาติ ผู้ประพันธ์ทำนอง และเรียบเรียงเสียงประสาน คือ คุณพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์** ซึ่งเป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน และเสาอากาศทองคำ โดยมี คุณสุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ขับร้อง และขับร้องหมู่โดยนักร้องประสานเสียง กรมศิลปากร

 

 

สุเทพ วงศ์กำแหง(ซ้าย) กำลังขับร้องบันทึกเสียงเพลง "ตามรอยพระยุคลบาท"ในห้องบันทึกเสียงเจ้าพระยาสตูดิโอ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 นักร้องประสานเสียง กรมศิลปากร ในเพลง "ตามรอยพระยุคลบาท" คุณชาลี อินทรวิจิตร (กลาง)และคุณพิมพ์ปฎิภาณ พึ่งธรรมจิตร (ขวา) ถ่ายที่สวนอาหาร "บ้านชาลี" บางใหญ่ ปี พ.ศ. 2544

                * ชาลี อินทรวิจิตร เป็นศิลปินครูเพลง เจ้าของผลงานเพลงที่เป็นอมตะมากมาย อาทิ สดุดีมหาราชา ท่าฉลอม อาลัยรัก เรือนแพ หยาดเพชร บ้านเรา หนามชีวิต ฯลฯ
               ** พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ นักเรียบเรียงเสียงประสานชื่อดัง เจ้าของผลงานเพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ และเสาอากาศทองคำ มีผลงานที่ได้รับความนิยมมากมาย อาทิ น้ำตาหรือจะแก้ปัญหาใจ สั่งสกุณา ฯลฯ
 

                                                                 

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
   
คำถาม     : บุคคลในภาพคือใคร ให้ระบุชื่อและนามสกุลอย่างชัดเจน
   
คำตอบ     : รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์
   

เกร็ดความรู้

               รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คนที่ 9 (พ.ศ.2540 - 2543) วุฒิ Ph.D (Entomology) จาก University of Manchester สหราชอาณาจักร
               เริ่มรับราชการ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2511 ที่ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เคยดำรงตำแหน่งบริหารที่สำคัญ คือ
               - หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา 2 สมัย                                                (พ.ศ. 2521 - 2527)
               - คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย                                                               (พ.ศ. 2527 - 2531)
               - รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา                                                             (พ.ศ. 2532 - 2533)
               - รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา 2 สมัย       (พ.ศ. 2534 - 2540)

เกียรติประวัติ
               - อาจารย์สอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2547 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

               - นิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น ประจำปี 2541 ของสมาคมนิสิตเก่า คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ปัจจุบัน
                เกษียณอายุราชการแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2548 ได้รับการจ้างจากภาควิชาชีววิทยา ในตำแหน่งอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ สาขาวิชาสัตววิทยา ทำหน้าที่สอน วิจัย และงานบริการวิชาการ รวมทั้งปฏิบัติงานสนับสนุนการสอน ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เป็นหัวหน้าทีมงานสอนภาษาอังกฤษให้นักศึกษา ระดับปริญญาโท – เอก ของภาควิชาชีววิทยา ในการช่วยพัฒนาวิธีเรียน / สอนวิทยาศาสตร์ในภาควิชาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน