เฉลยปัญหาประจำเดือน ตุลาคม 2553

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : อยากทราบ วัน เดือน ปี ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปลูกต้นศรีตรัง ที่บริเวณด้านหน้าอาคาร
  สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่ หลังเดิม (ปัจจุบันคือ อาคารบริหาร คณะวิทยาศาสตร์)
   
คำใบ้         : สามารถเดินไปดูคำตอบได้เลย เนื่องจากมีป้ายบอก
   
คำตอบ     : วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2516

เกร็ดความรู้


               เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2516 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเยี่ยมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่


  

                และโปรดให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินเพื่อสมทบทุนก่อสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก ณ บริเวณลานชั้นล่าง ตึกฟักทอง คณะวิทยาศาสตร์


               หลังจากนั้น ทั้ง 2 พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปลูกต้นศรีตรังที่ด้านหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดีหลังเดิม ซึ่งปัจจุบันคือ อาคารบริหาร คณะวิทยาศาสตร์

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย... อ.มนัส กันตวิรุฒ

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
 
   
คำถาม   : ภาพที่เห็นอยู่นี้ เป็นภาพในวันทำพิธีตั้งศาลพระภูมิประจำมหาวิทยาลัย ที่วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยในภาพมีอดีตอธิการบดี
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 3 ท่าน อยากทราบว่า ทั้งสามท่านนี้ คือใครกันบ้าง (กรุณาเขียนตำแหน่งทางวิชาการและชื่อ-นามสกุล ให้ถูกต้องด้วยนะคะ)
   
คำตอบ  :
1.  ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์
 
2.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์
3.  รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์
 

เกร็ดความรู้

               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จัดพิธีตั้งศาลพระภูมิประจำมหาวิทยาลัยที่วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เวลา 05.40 น.  โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ อธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษา ไปร่วมพิธี
               สำหรับสถานที่ตั้งศาลพระภูมิ จะอยู่บริเวณภายในมหาวิทยาลัย ด้านหน้าใกล้ประตูทางเข้า ด้านที่ติดกับศูนย์วิจัยการยาง (ประตูนี้ แต่เดิมเรียกกันว่า       “ ประตูไทย ” เพราะมีคำว่า “ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ” ซึ่งเป็นภาษาไทย ติดอยู่

               ส่วนสาเหตุที่มีการตั้งศาลพระภูมิขึ้น จากคำบอกเล่าของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตอารีย์ สาครินทร์ อดีตรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า เนื่องจากขณะนั้นมีนักศึกษาตกน้ำตายในอ่างเก็บน้ำ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ อธิการบดี ได้พูดคุยกับนายแพทย์บุญจอง ศิริวงศ์ ซึ่งเป็นผู้รอบรู้ทางด้านพิธีกรรมต่างๆ ได้ให้คำแนะนำว่าน่าจะมีการตั้งศาลพระภูมิขึ้นในมหาวิทยาลัย เพื่อความเป็นสิริมงคล ประกอบกับในสมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง เป็นอธิการบดี ก็เคยมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น คือมีรถตุ๊กๆ พุ่งเข้าชนนักศึกษาที่เดินมาเข้าประชุมในวันปฐมนิเทศก์ ทำให้นักศึกษาบาดเจ็บไป 4 คน                


ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ


               ผู้ที่ตอบปัญหาได้ถูกต้องและครบถ้วนทั้งสองข้อ จำนวน 4 ท่าน จะได้รับ เหรียญเงินที่ระลึก ซึ่งกรมธนารักษ์จัดทำขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คือ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 ซึ่งในขณะนั้นเป็นวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา คนละ 1 เหรียญ ผู้สนับสนุนของรางวัลประจำเดือนนี้คือ คุณสมบัติ พงศ์ละไม ผู้อำนวยการศาลาธนารักษ์ 2 จังหวัดสงขลา ซึ่งได้แก่

1.นายภาษัณ แซ่หลี้  จ.ภูเก็ต
2.นางวัชรี ผัดผล จ.ภูเก็ต
3.นางสาวสุนันทา กลสามัญ  จ.ภูเก็ต
4.นายอรรถพล อึ๋งชินกรรม จ.ภูเก็ต


ผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 4 ท่าน กรุณานำหลักฐานมายืนยันเพื่อรับรางวัลได้ที่ คุณพามดา โสตถิพันธุ์
(ผู้ช่วยประธานคณะทำงานจัดทำหอประวัติฯ) สำนักงานหอประวัติฯ อาคารสำนักงานอธิการบดี
(ติดกับสำนักงานไปรษณีย์ย่อย ม.อ.) ชั้น 1 ม.อ. หาดใหญ่ โทร. / แฟกซ์ 074-282038
ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น.

เฉลยปัญหาประจำเดือน พฤศจิกายน 2553

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : ในเทศกาลออกพรรษาปี พ.ศ. 2551 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จ
  พระเจ้าอยู่หัวให้อัญเชิญผ้ากฐินพระราชทานไปถวาย ณ พระอารามหลวง อยากทราบว่าพระอารามหลวงนั้นคือวัดใด
   
ก)  วัดโคกสมานคุณ 
ข)  วัดโพธิ์ปฐมาวาส
   
คำใบ้         : ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากหนังสือ “ม.อ. ในปีที่ 40” หน้า 261-265
   
คำตอบ      : ข) วัดโพธิ์ปฐมาวาส

เกร็ดความรู้


               ในเทศกาลออกพรรษาปี พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐินให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อัญเชิญไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้อยู่จำพรรษากาล ณ วัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา ในวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2551
               สำหรับวัดโพธิ์ปฐมาวาส เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา


  

                กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลพระราชทาน เพื่อไปถวายยังวัดหลวงและจะร่วมเพิ่มไทยธรรม โดยเสด็จพระราชกุศลด้วย ตามกำลังศรัทธาก็ได้ 

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย... อ.มนัส กันตวิรุฒ

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
   
คำถาม   : ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2528 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2529 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้มีมติถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระราชาคณะรูปหนึ่ง อยากทราบฉายานามของพระราชาคณะรูปนั้น
   
 
ก)  พุทธทาสภิกขุ 
ข)  ปัญญานันทภิกขุ
 
   
คำใบ้    : ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากหนังสือ “ครบรอบ 40 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” หน้า 617-628 
   
คำตอบ : ก) พุทธทาสภิกขุ 
   

เกร็ดความรู้

               ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2528 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ)

 คลิกที่ภาพเพื่อดูรูปใหญ่ขึ้น

              

               เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2530 เวลา 10.30 น. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดให้มี พิธีถวายปริญญาบัตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) ณ สวนโมกพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยมี ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี   


ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ


               ผู้ที่ตอบปัญหาได้ถูกต้องและครบถ้วนทั้งสองข้อ จำนวน 10 ท่าน จะได้รับ “เหรียญพระพุทธเมตตา” ตัวเหรียญล้มรอบด้วย Crystal ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่พระมหาวิหารพุทธคยา ประเทศอินเดีย คนละ 1 เหรียญ เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล ผู้สนับสนุนของรางวัลประจำเดือนนี้คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพา ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (FM 88) ซึ่งได้แก่

1.นางสาวกฤติมุก หนูเริก จ.ภูเก็ต
2.นายคีรี อนุกูลกาญจน์ จ.ภูเก็ต
3.นางสาวชุติมา หมันหลิน จ.ภูเก็ต
4.นางสาวธารินี จริยาปยุกต์เลิศ จ.สงขลา
5.นายมานะ เรืองกำเนิด จ.ปัตตานี
6.นางวรรณวไล บัวเพ็ชร จ.ภูเก็ต
7.นางวราพร อกนิษฐากร จ.ภูเก็ต
8.นางวัชรี ผัดผล จ.ภูเก็ต
9.นายศุภฤกษ์ ยิ่งวุฒิวรกุล จ.ภูเก็ต
10.นางสาวอุบลวรรณ จริยาปยุกต์เลิศ จ.สงขลา


ผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 10 ท่าน กรุณานำหลักฐานมายืนยันเพื่อรับรางวัลได้ที่ คุณพามดา โสตถิพันธุ์
(ผู้ช่วยประธานคณะทำงานจัดทำหอประวัติฯ) สำนักงานหอประวัติฯ อาคารสำนักงานอธิการบดี
(ติดกับสำนักงานไปรษณีย์ย่อย ม.อ.) ชั้น 1 ม.อ. หาดใหญ่ โทร. / แฟกซ์ 074-282038
ภายในวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น.

เฉลยปัญหาประจำเดือน ธันวาคม 2553

ปัญหาข้อที่ 1 :  
   
คำถาม      : “เหล่าประชา คารวะ สดุดี
แผ่นดินนี้..มีสุข ด้วยองค์พระทรงชัย
บรรดาชาติชน ชื่นชม สมใจ
ถวายบังคม เทิดไท้ ภูมิพลมหาราชา”
 
เพลงนี้ ชื่อเพลงอะไร
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/Dec10-cut.mp3{/audio}
   
คำใบ้         : เพลงนี้ แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
5 ธันวาคม 2550
   
คำตอบ      : เพลง “พ่อแห่งแผ่นดิน”
{audio}http://dmhost1.psu.ac.th/~psuhistory/k1253.mp3{/audio}

เกร็ดความรู้


               ที่มาของเพลง “พ่อแห่งแผ่นดิน” เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และศาลาเฉลิมกรุง ได้จัดทำเพลงเฉลิมพระเกียรติ พ่อแห่งแผ่นดิน เพื่อให้ชาวไทยทั่วโลกใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์ในการแสดงความจงรักภักดี แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     โดยมีนักร้องร่วมขับร้องเพลงนี้ทั้งหมด 80 ท่าน ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่มีการจัดทำเพลงเฉลิมพระเกียรติ
               ผู้ประพันธ์คำร้อง คือ 
                         ชาลี อินทรวิจิตร
                         อาจินต์ ปัญจพรรค์
                         สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์
                         สุรพล โทณวนิก
              ผู้ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงเสียงประสาน ได้แก่
                         เรืออากาศตรี ศ.พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์
                         วิรัช อยู่ถาวร
                         พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์
                         จิรวุฒิ กาญจนผลิน


  

             

 ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย... อ.มนัส กันตวิรุฒ

 
ปัญหาข้อที่ 2 : 
   
คำถาม     : ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 39) ประจำปีการศึกษา 2552 เมื่อวันที่ 13-14 กันยายน 2553 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยากทราบว่าเป็นปริญญาทางด้านใด และสาขาใด
   
   
คำใบ้        : ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้จากหนังสือสูจิบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2552
   
คำตอบ     : ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาสังคม
   

เกร็ดความรู้

               ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 39 ประจำปีการศึกษา 2552 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 13-14 กันยายน 2553 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
              ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีมติทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาสังคม) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วย

  รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี กราบทูลถวายราชสดุดี
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอ
พระราชทานพระราชวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายปริญญา
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาสังคม)

                            

(คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ขึ้น) 


ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย...อ.มนัส กันตวิรุฒ


               ผู้ที่ตอบปัญหาได้ถูกต้องและครบถ้วนทั้งสองข้อ จำนวน 10 ท่าน จะได้รับ การ์ดพร้อมเหรียญเงิน ซึ่งสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์จัดทำขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (5 ธันวาคม 2550) ผู้สนับสนุนของรางวัลประจำเดือนนี้คือรองศาสตราจารย์ ดร.ธวัช ชิตตระการ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ซึ่งได้แก่

1. นางโสภา สุระคำแหง  จ.สงขลา
2.นายมานะ เรืองกำเนิด  จ.ปัตตานี
3.นางสาววนิดา จริยาปยุกต์เลิศ  จ.สงขลา
4.นายอาทิตย์ แสงมณี  จ.สงขลา
5.นางสาวสุนทราภรณ์ มะโน   จ.สงขลา
6.นายชาวิท ปัจฉิมเพ็ชร  จ.ชุมพร
7.นางสาวสุธีรพร เอี่ยมวิจิตร  จ.สงขลา
8.นางจุรีรัตน์ ทองเรือง  จ.สงขลา
9.นางพิไลพร รุกขชาติสุวรรณ  จ.สงขลา
10.นางวรดา เหลืองจินดา  จ.สงขลา


ผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 10 ท่าน กรุณานำหลักฐานมายืนยันเพื่อรับรางวัลได้ที่ คุณพามดา โสตถิพันธุ์
(ผู้ช่วยประธานคณะทำงานจัดทำหอประวัติฯ) สำนักงานหอประวัติฯ อาคารสำนักงานอธิการบดี
(ติดกับสำนักงานไปรษณีย์ย่อย ม.อ.) ชั้น 1 ม.อ. หาดใหญ่ โทร. / แฟกซ์ 074-282038
ภายในวันที่ 31  มกราคม 2554 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น.

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน