เฉลยปัญหาประจำเดือน มีนาคม 2555

ปัญหาข้อที่ 1  :  
   
คำถาม      : พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับแรก ประกาศใช้ในปี พ.ศ. ใด
   
คำใบ้         : ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้   ได้จากเว็บไซต์ของหอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  โดย  Click ไปอ่านเฉลยปัญหาประจำเดือนมีนาคม 2551 ข้อ 2 ก็จะทราบคำตอบ
   
คำตอบ     : พ.ศ.2511

เกร็ดความรู้

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2511 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฉบับแรก และได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 24 จึงเรียกพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511”


โดยมีผลบังคับใช้ในวันถัดมา คือวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2511 ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงกำหนดให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่สำคัญอีกวันหนึ่งของมหาวิทยาลัยโดยกำหนดเป็น “วันสถาปนามหาวิทยาลัย”

 

ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ปัญหาข้อที่ 2 :  
   
 
   
คำถาม     : ในเพลงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชุด “ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก” มีศิลปินแห่งชาติ จำนวน 3 ท่าน (นักร้อง 2 ท่าน, นักประพันธ์เพลง 1 ท่าน) ได้ให้เกียรติมาร่วมสร้างสรรค์งานเพลงชุดนี้ อยากทราบว่า ศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 ท่านคือใคร
   
คำใบ้       : ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้จากเว็บไซต์ของหอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย Click ไปอ่านเฉลยปัญหาประจำเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2550 (ข้อ 1) และเฉลยปัญหาประจำเดือนมกราคม 2551 (ข้อ 1) ก็จะทราบคำตอบ
   
คำตอบ     : ศิลปินแห่งชาติ(นักร้อง) คือ   1. สุเทพ วงศ์กำแหง
                                                 2. สวลี ผกาพันธ์
ศิลปินแห่งชาติ(ผู้ประพันธ์เพลง) คือ ชาลี อินทรวิจิตร
   

เกร็ดความรู้

เพลงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชุด “ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระบรมราชชนก” ได้จัดทำขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 35 ปี แห่งการก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปี 2544 มีศิลปินแห่งชาติได้ให้เกียรติมาร่วมสร้างสรรค์งานเพลงของมหาวิทยาลัยชุดนี้ เป็นจำนวนถึง 3 ท่าน

              
                  เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง เพลง “ตามรอยพระยุคลบาท” ซึ่งเป็นเพลงเอกของอัลบั้ม โดยมีครูพิมพ์ปฎิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง

ชาลี อินทรวิจิตร (กลาง)
อ.มนัส กันตวิรุฒ (ซ้าย) พิมพ์ปฎิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ (ขวา)
ถ่ายที่สวนอาหาร “บ้านชาลี” บางใหญ่ ปี พ.ศ.2544



     เป็นผู้ขับร้องเพลง “ตามรอยพระยุคลบาท” เพลงนี้บันทึกเสียงที่ “เจ้าพระยาสตูดิโอ” ถนนอรุณอมรินทร์ กทม. เมื่อปี 2544

 

สุเทพ วงศ์กำแหง กำลังจดเนื้อร้อง
เพลง "ตามรอยพระยุคลบาท"
สุเทพ วงศ์กำแหง กำลังซ้อมเพลง
ก่อนเข้าห้องบันทึกเสียง

 

สุเทพ วงศ์กำแหง และ อ.มนัส กันตวิรุฒ
ในห้องบันทึกเสียง
สุเทพ วงศ์กำแหง ขณะบันทึกเสียง
เพลง “ตามรอยพระยุคลบาท”


นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังเป็นผู้ขับร้องเพลงอีก 2 เพลง หนึ่งในสองเพลงนั้น คือ เพลง “ถิ่นศรีตรัง” ซึ่งผู้ประพันธ์คำร้องคือ ผศ.มะเนาะ ยูเด็น ผู้ประพันธ์ทำนองคือ รศ.วันเนาว์ ยูเด็น เพลงนี้บันทึกเสียงที่ “เจ้าพระยาสตูดิโอ” ในปี 2544 เช่นเดียวกัน


ผศ.มะเนาะ ยูเด็น (ซ้าย) สุเทพ วงศ์กำแหง (กลาง)
อ.มนัส กันตวิรุฒ (ขวา)
  สุเทพ วงศ์กำแหง ขณะบันทึกเสียง
เพลง “ถิ่นศรีตรัง”

ส่วนอีกเพลงหนึ่ง คือ เพลง “ร่มศรีตรัง” ซึ่งผู้ประพันธ์คำร้อง คือ ผศ.มะเนาะ ยูเด็น ผู้ประพันธ์ทำนองคือ อาจารย์ปราโมทย์ กระมุท เพลงนี้บันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียง “ศรีสยาม” ดินแดง กทม. เมื่อปี 2527 โดยมี สุเทพ วงศ์กำแหง เป็นผู้ขับร้อง ซึ่ง คุณสุเทพ ขับร้องให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน

สุเทพ วงศ์กำแหง และ พิมพ์ปฎิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ (ในห้องบันทึกเสียง)
อ.มนัส กันตวิรุฒ กับ กิ่งกาญจน์ กาญจนา (หน้าห้องบันทึกเสียง)


                        เป็นผู้ขับร้องเพลง “แก้ว” ซึ่งมี รศ.วันเนาว์ ยูเด็น เป็นผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนอง เพลงนี้บันทึกเสียงที่ “เจ้าพระยาสตูดิโอ” ถนนอรุณอมรินทร์ กทม. เมื่อปี 2544 เช่นกัน


สวลี ผกาพันธ์ และ รศ.วันเนาว์ ยูเด็น  สวลี ผกาพันธ์ (กลาง) อ.มนัส กันตวิรุฒ (ซ้าย)
พิมพ์ปฎิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ (ขวา)


ถ่ายทอดข้อมูลโดย.. อ.มนัส กันตวิรุฒ

ติดต่อเรา

หอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

♦️ ติดต่อสำนักงาน
โทรศัพท์ 0-7428-2990
โทรสาร 0-7428-2999

♦️ ติดต่อเข้าชมนิทรรศการถาวร
โทรศัพท์ 0-7428-2993

♦️ แผนที่

เครือข่ายหอประวัติ

♦️ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า ในพระราชูปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
♦️ หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
♦️ หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
♦️ หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
♦️ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
♦️ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
♦️ พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
♦️ หอประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
♦️ มิวเซียมไทยแลนด์

นโยบายแนวปฎิบัติการใช้คุกกี้

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์และเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน